วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ารไฟฟ้านครหลวงได้จัดทำแผนพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ
 และระบบเครือข่ายการสื่อสารมาพัฒนาระบบงานทุกด้านให้เอื้ออำนวยต่อการบริหารงานเชิงธุรกิจ
และสอดคล้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี
2541- 2544 ประกอบด้วย โครงการต่าง ๆ ดังนี้
  • ครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและอุปกรณ์ประกอบ
  • โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ (MEANet)
  • โครงการพัฒนาระบบงานบริการผู้ใช้ไฟฟ้าที่ทันสมัย (CSS)
  • โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการ (MIS)
  • โครงการปรับปรุงและเพิ่มเครื่องพ่วงระบบคอมพิวเตอร์
  • โครงการจัดทำศูนย์กลางการให้ข้อมูลคำปรึกษาและบริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า(Call Center)
  •  ซึ่งได้เน้นถึงคุณภาพในการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า และการบริหารงานภายในองค์การให้
  • มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ คำนึงถึงความสะดวก
  •  รวดเร็ว ในการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
  •  



ระบบคอมพิวเตอร์


     คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยในการทำงานขอ
มนุษย์ โดยมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป พัฒนาการของคอมพิวเตอร์มีมาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยม และราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน อีกทั้งความสามารถและ     ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นทั้งในด้าน ความเร็วในการประมวลผลข้อมูล  เมื่อคุณปิดคอมพิวเตอร์ มันก็เปรียบเสมือนสิ่งของที่ประกอบด้วย พลาสติก โลหะ สายไฟมากมาย และวงจรต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันอย่างซับซ้อนมากมาย แต่เมื่อคุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้น กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้วงจรเหล่านั้นทำงาน และเกิดเรื่องน่าอัศจรรย์ขึ้นมากมาย แต่เริ่มแรกที่กระแสไฟฟ้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ มันจะยังไม่ทำงานใดๆทั้งนั้น นอกจากจะตรวจสอบตัวเองก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่มีอยู่ในตัวมันและยังใช้งานได้หรือไม่ เหมือนกับ คนไข้อาการโคม่าที่พอฟื้นขึ้นมาก็จะตรวจดูตัวเองก่อนว่า อวัยวะของตัวเองอยู่ครบหรือไม่ นั่นเอง เมื่อคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในตัวมันแล้วไม่มีปัญหา ก็จะเริ่มทำการ บูท (boot) ระบบ ซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนผู้ดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานตามคำสั่ง


เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา


    เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ All-in-One ตระกูล Eee Family ซึ่งรวมเอาเครื่อง PC และ LCD ไว้ในตัวเดียวกัน เพื่อการใช้งานที่ง่ายในหนึ่งเดียว ด้านการดีไซน์รูปทรง ASUS EeeTop PC T1602 สำหรับตัวเครื่องยังคงเอกลักษณ์ของ Eee Family ไว้เหมือนเดิม โดยมี 2 สี ให้เลือก (ขาวและดำ) และเสริมด้วยอะคริลิคใสเป็นกรอบหุ้มไว้อีกที สร้างความโดดเด่น หรูหรา และทันสมัย ขนาดกะทัดรัด อีกทั้งสามารถปรับระดับของจอภาพได้ตามความต้องการอีกด้วย นอกจากนี้ ASUS EeeTop PC T1602 ยังเป็นคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสหน้าจอ พร้อมสามารถเขียนข้อความต่างๆได้ด้วยปลายนิ้วและปากกา Stylus โดยไม่ต้องใช้แป้นคีย์บอร์ด หรืออาจจะเลือกใช้คีย์บอร์ดเสมือนจากหน้าจอก็ได้ ที่สำคัญครบครันทุกฟังก์ชั่นการใช้งานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการWindows XP การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วด้วย Wi-Fi 802.11n

คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด


      ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร

คอมพิวเตอร์


    คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
   คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
   คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]